ชื่อชมรม(ชื่อเต็ม) | ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม Environmental Conservation Club |
ชื่อมหาวิทยาลัย (ชื่อเต็ม) | มหาวิทยาลัยสวนดุสิต Suan Dusit University |
ประธานชมรม | นางสาวอัญชลี เอ็มประโคน |
รองประธาน | นางสาวสุกฤตา ปันเทพ |
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา | ผศ.ดร.ประวรดา โภชนจันทร์ |
ที่อยู่ติดต่อ | ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ถนนสิรินธร แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร |
เบอร์โทรศัพท์ | 02-423-9445 |
ประวัติชมรม
ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เริ่มก่อตั้ง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2544 โดยชมรมฯ ตั้งอยู่ที่โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต อาคาร 11 ชั้น 4 ซึ่งปัจจุบันได้ย้ายสถานที่มาตั้งอยู่ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อรักษาและส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
2. เพื่อแลกเปลี่ยน เผยแพร่ และส่งเสริมความรู้ความคิดและประสบการณ์ทางด้านสิ่งแวดล้อม
3. เพื่อช่วยเหลือหรือให้ความร่วมมือในกิจกรรมของมหาวิทยาลัยและชุมชนเมืองทางด้านสิ่งแวดล้อม 4. เพื่อรักษาและส่งเสริมความสัมพันธ์และความสามัคคีระหว่างสมาชิกในชมรม
ผลงานที่ผ่านมา
1. โครงการการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรม Green Youth สู่การปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) และให้รายงานผลการดำเนินงานโครงการดังกล่าว เพื่อให้คณะกรรมการประเมินโครงการการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ร่วมพิจารณาผลการดำเนินงานโครงการตามเกณฑ์การประเมินโครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่ มหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญและส่งผลงานเข้าประกวด โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการต่อเนื่องและได้รับโล่รางวัลซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานระดับทอง 3 ปี ซ้อน โดยเกณฑ์มาตรฐานประกอบด้วย ระดับทอง (ดีเยี่ยม) คะแนนร้อยละ 90 ขึ้นไป ระดับเงิน (ดีมาก) คะแนนร้อยละ 80-89 ระดับทองแดง (ดี) คะแนนร้อยละ 60-79 และไม่ผ่านการรับรอง ต่ำกว่า คะแนนร้อยละ 60 ซึ่งต้องผ่านคณะกรรมการรอบกลั่นกรอง แล้วถึงเข้าสู่คณะกรรมการระดับประเทศรอบยืนยันผล ระดับทองและเงินเท่านั้น และโดยชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้รับรางวัล 3 ปีซ้อน อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานระดับทอง ดังนี้คือ
1) โครงการ Green & Clean University 2019 โดยชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
2) โครงการ Green & Clean University 2020 โดยชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
3) โครงการ Green & Clean University 2021 โดยชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
2. เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยในการแสดงศักยภาพนักศึกษาที่เป็น Best Practices ในด้านผลงานองค์กรนิสิต นักศึกษา และชมรมกิจกรรม เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้ในอนาคตต่อไป ในการประชุมทางวิชาการด้านการ พัฒนานิสิต นักศึกษา ประจำปี 2566 “บทบาทสำคัญในงานพัฒนานิสิตนักศึกษาหลังการแพร่ระบาดโควิด-19” ด้วยรูปแบบการนำเสนอด้วยโปสเตอร์ประกอบด้วยคลิปวีดีโอสรุปผลงาน ซึ่งจัดโดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2566และ 3) ล่าสุด รางวัลชนะเลิศการประกวดการผลิตสื่อสร้างสรรค์ ชื่อผลงาน “เผา=ฝุ่น” คือ ทีมสีน้ำเงิน นางสาวฐนิชา เสนานุวงศ์ และนางสาวศศิธร ธรรมีภักดิ์ และรางวัลรองชนะเลิศการประกวดการผลิตสื่อสร้างสรรค์ ชื่อผลงาน “ทิ้งถูกเเยกได้ใช้ซ้ำ” คือ ทีมสีม่วง นางสาวมนัญชยา พวงลำเจียก กิจกรรม GREEN YOUTH ACTIVITY SCHEDULE 2023 “ HERO FOR ZERO ” ระหว่างวันที่ 9-10 มีนาคม จัดโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมร่วมกับ FM ONE โดยสื่อที่ชนะการประกวดดังกล่าวจะได้ออกอากาศทางคลื่นวิทยุ FM ONE 103.5 ต่อไป
3. ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่ได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นกรุงเทพมหานคร (ประกายเพชร) ครั้งที่ 18 ประจำปี 2566 ประเภทกลุ่มเยาวชน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกิจกรรมและผลงานในการส่งเสริม การอนุรักษ์ การพัฒนา การป้องกัน และการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2566 โดยได้รับรางวัลจากผลงานที่ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ในโครงการการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และได้รับรางวัลอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานระดับทอง 3 ปี ซ้อน ประจำปี 2562-2564 ภายใต้โครงการ Green & Clean University และยังทำอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน รวมถึงโครงการอื่นๆ เช่น กิจกรรมการลดการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง พร้อมการนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อยืดอายุการกำจัด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ให้กับชุมชน ซึ่งจะมีพิธีการรับโล่รางวัล ใบประกาศนียบัตร และทุนการศึกษาในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2566 จัดโดย สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร